ประวัติความเป็นมาชุมชนเกาะศรีบอยา
ชุมชนเกาะศรีบอยา ประกอบไปด้วยชุมชนย่อยบนเกาะขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่
1. เกาะศรีบอยา ประกอบด้วยชุมชนย่อย 3 แห่ง คือ
- หมู่ 1 บ้านคลองเตาะ
- หมู่ 6 บ้านเกาะศรีบอยา
- หมู่ 7 บ้านหลังเกาะ
2. เกาะปู – เกาะจำ ประกอบด้วยชุมชนย่อย 3 แห่ง คือ
- หมู่ 2 บ้านเกาะปู
- หมู่ 3 บ้านเกาะจำ
- หมู่ 5 บ้านติงไหร
3. เกาะฮั่ง ประกอบด้วยชุมชนย่อย 1 แห่ง คือ
- หมู่ 4 บ้านเกาะฮั่ง
โดยมีประวัติความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานบนเกาะต่างๆ พอสังเขป ดังนี้
1. เกาะศรีบอยา
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในชุมชนบ้านคลองเตาะ และชุมชนบ้านเกาะศรีบอยา ได้ข้อมูลตรงกันว่า ประชากรบนเกาะศรีบอยาอพยพย้ายถิ่นมาจากเกาะนกคอม ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกในราวปี พ.ศ.2490 เป็นต้นมา คำว่า “ศรีบอยา” มีผู้ให้ความหมายไว้เป็น 2 นัย คือ ศรีบอยาคำเดิมน่าจะมาจากภาษาของชาวเล ที่เรียกเกาะนี้ว่า “ปูเลา บีฮาย่า” คำว่า “ปูเลา” แปลว่าเกาะ ส่วนคำว่า “บีฮาย่า” แปลว่า จระเข้ ซึ่งกล่าวกันว่าสมัยก่อนเกาะนี้มีจระเข้น้ำเค็มชุกชุมมาก อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าศรีบอยาเดิมชื่อว่า “ปาแซะบอย่า” ซึ่งเป็นคำในภาษามลายู โดย “ปาแซะ” หมายถึง หาดทราย ส่วน “บอยา” คือ จระเข้ เมื่อรวมกันแล้วจะหมายถึง หาดทรายที่จระเข้ขึ้นตากแดด ซึ่งสอดคล้องกับความหมายแรก และ ต่อมาได้กลายเป็นชื่อแบบไทยว่า “ศรีบอยา”
จากเอกสารรายงานข้อมูลระดับหมู่บ้าน โครงการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำ ปากแม่น้ำกระบี่ (2546) กล่าวถึงประวัติชุมชนบนเกาะศรีบอยาว่า สมัยก่อนมีการอพยพของผู้คนจำนวนหนึ่งจากรัฐกลันตันและเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย โดยเดินทางมาทางทะเลเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะนกคอม ผู้คนตระกูลแรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เช่น ตระกูลกะลันตัน (มาจากรัฐกลันตัน) ตระกูลแหลมเกาะ (มาจากเกาะลังกาวี) และตระกูลตะกิมจิ (เป็นภาษามลายู แปลว่า วงศ์ตระกูล) ในยุคนั้นเกาะนกคอมมีความเจริญมาก เป็นพื้นที่ที่มีการค้าขายและเปลี่ยนสินค้าทางทะเล ครั้นเมื่อมีคนมาอยู่มากขึ้นประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ขณะที่เกาะนกคอมซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็ก เริ่มมีพื้นที่ไม่เพียงพอในการรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนั้นเนื้อที่บริเวณเกาะศรีบอยาเป็นป่าสงวน แต่ต่อมาได้เปิดให้ประชาชนเข้ามาจับจอง ประชาชนบนเกาะนกคอมและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะศรีบอยานับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งในอดีตเกาะศรีบอยาเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นที่กักขังนักโทษก่อนจะส่งต่อไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากพื้นที่โดยรอบเกาะในยุคนั้นมีจระเข้อยู่มาก
ชุมชนแห่งแรกบนเกาะศรีบอยา ได้แก่ ชุมชนหมู่ 1 บ้านคลองเตะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระยะทางใกล้กับเกาะนกคอมมากที่สุด โดยในพื้นที่หมู่บ้านมีคลองเล็กๆ อยู่สายหนึ่งมีต้นลิบง หรือตะลิบง (เป็นภาษายาวี หมายถึง ต้นหลาวชะโอนหรือหลาวโอน ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลปาล์ม) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก “เตาะ” เป็นคำในภาษามลายูหมายถึง “กาบข้องต้นลิบง” ซึ่งชาวบ้านจะใช้ใบและกาบ (เตาะ) ของต้นหลาวโอนมาทำเป็นที่ตักน้ำเรียกว่า “หมา” (เมื่อทำจากใบหลาวโอนจึงเรียกว่า หมาหลาวโอน) ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะนกคอมได้เข้ามาเก็บเอาเตาะหรือ กาบของต้นลิบงในบริเวณนี้ไปทำเป็นภาชนะตักน้ำ จึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “คลองเตาะ” มาจนถึงปัจจุบัน
2. เกาะปู – เกาะจำ
เดิมเกาะปูและเกาะจำเป็นคนละเกาะกัน โดยเกาะปูคือเกาะขนาดใหญ่ ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ขณะที่เกาะจำคือเกาะเล็กๆ ที่อยู่ถัดออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะปู ซึ่งปัจจุบันคือเกาะจำนุ้ย เกาะจำนุ้ยนั้นเคยเป็นที่อยู่ของชาวเลมาก่อน ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวเลจึงได้อพยพออกมาอยู่ทางตอนใต้ของเกาะปู และเรียกบริเวณใหม่ที่ย้ายไปอยู่ว่า “เกาะจำ” อีกทำให้เกาะปูมีชื่อเรียกต่อท้ายว่าเกาะจำพ่วงไปด้วย กลายเป็น “เกาะปู - เกาะจำ”
คำว่า “เกาะจำ” ภาษาชาวเลเรียกว่า “ปูเลากระจั๊บ” ปูเลา หมายถึง เกาะ ส่วนกะจั๊บ คือต้นจาก เนื่องจากเดิมเกาะนี้มีต้นจากขึ้นอยู่มาก สามารถตัดมาผูกด้วยเชือกหรือเส้นด้ายกลายเป็น “ตับจาก” ใช้มุงหลังคาได้ คำว่าเกาะจำจึงน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “กะจั๊บ” นั้นเอง อย่างไรก็ดีบางท่านก็ให้ความเห็นว่า บริเวณบ้านเกาะจำแห่งใหม่ที่ชาวเลอพยพไปอยู่นั้น มีชื่อเรียกว่า “ปูเลาลักอะค้อย” แปลว่า เกาะนกออก ซึ่งนกออกในที่นี้เป็นชื่อนกชนิดหนึ่ง มีขนสีค่อนข้างขาวหรือสีครีม เป็นนกทะเล ที่มาพักอาศัยอยู่บนเกาะนี้เป็นประจำ “จำ” ในที่นี้จึงหมายถึง “จำที่” คือ นกมาเกาะในที่เดิมเป็นประจำทุกครั้ง ชาวเลจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “เกาะจำ”
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านหมู่ 3 บ้านเกาะจำ โดยนายสุวรรณ สุขทอง (อายุ 75 ปี) กล่าวว่าในพ.ศ.2498 มีการตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านเกาะจำอยู่ประมาณ 70 - 80 ครัวเรือน สภาพสังคมประกอบไปด้วยชาวเล ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมในบริเวณนี้ มีชาวจีนอาศัยอยู่นานมากกว่าหนึ่งร้อยปี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณต้นไทรใหญ่ ซึ่งชาวจีนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาในบริเวณนี้ได้เจอชาวเลอาศัยอยู่ก่อนหน้าแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมุสลิมที่อพยพมาจากพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านด้วยทำให้ปัจจุบันบ้านเกาะจำมีกลุ่มประชากรอาศัยอยู่อย่างหลากหลายมากที่สุด คือ ประกอบไปด้วยชาวพุทธ – มุสลิมเชื้อสายจีน ประมาณร้อยละ 20 ชาวไทยมุสลิมพื้นถิ่นใต้ ประมาณ ร้อยละ 40 และชาวไทยใหม่ (ชาวเล/ชาวน้ำ) อีกประมาณ ร้อยละ 40
ส่วนประวัติการตั้งชุมชนหมู่ 2 บ้านเกาะปู เกิดจากการอพยพผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมุสลิมพื้นถิ่นใต้จากบริเวณใกล้เคียงมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านพบว่าชุมชนบ้านเกาะปูเริ่มก่อตั้งมายาวนานมากกว่า 200 ปี ต่อมาเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นทั้งทางตอนใต้ของเกาะ (บริเวณบ้านเกาะจำ) และทางตอนบนของเกาะ (บ้านเกาะปู) ผู้คนที่อพยพมาใหม่ จึงจับจองพื้นที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น และได้แยกเขตการปกครองออกเป็น หมู่ 5 บ้านติงไหร คำว่า “ติงไหร” เป็นภาษามลายู แปลว่า “ทิ้งไว้” ซึ่งมีที่มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่กล่าวว่า มีกลุ่มเกิดมีคนหลงป่าไปหนึ่งคน พวกที่รออยู่เห็นว่ามืดแล้วจึงทิ้งคนที่หลงป่านั้นไว้
3. เกาะฮั่ง
ประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณเกาะฮั่ง จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 (นายหมาดสา หลานตา) กล่าวว่า ตัวชุมชนเกิดขึ้นจากการอยู่ระหว่างเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือจากเกาะภูเก็ตไปยังจังหวัดตรัง โดยมีเรือสำเภาเข้ามาพักใช้น้ำจืดบนเกาะ ต่อมาเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว ได้มีนายทุนจากจังหวัดภูเก็ตมาสร้างโรงเลื่อยบริเวณทางทิศเหนือของเกาะ และได้เลิกกิจการไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันที่ดินบริเวณโรงเลื่อยได้ตกทอดเป็นทายาท แต่ยังมิได้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ และยังไม่ได้ทุบโรงเลื่อยทิ้ง จึงยังหลงเหลือปล่องเตาไฟ และโกดังเก็บไม้ไว้ในที่เดิมส่วนชื่อ “เกาะฮั่ง” ตามประวัติในหนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดป้ายที่ว่าการอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากบนเกาะนี้มีหินสีดำ เรียกกันว่า “แร่ฮั่ง” อยู่ (ชาวบ้านเล่าว่าได้เคยส่งแร่นี้ไปพิสูจน์ที่จังหวัดภูเก็ตแล้ว) อีกกระแสหนึ่งก็ว่า “ฮั่ง” หรือบางทีก็ออกเสียงว่า “งั่ง” หมายถึงโลหะผสมชนิดหนึ่งมีความแข็งเหนียวแต่เบากว่าเหล็กมีสีเหลืองอมดำ หรือสนิมดำ
สภาพทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะ จำนวน 19 เกาะ แบ่งเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ 3 เกาะ คือเกาะศรีบอยา เกาะปู-เกาะจำ เกาะฮั่ง
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
|
: ติดต่อกับ ตำบลตลิ่งชันและตำบลคลองขนาน
: ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
: ติดต่อกับ ตำบลคลองยางและตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา
: ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
|
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ไปจนถึงเดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนธันวาคม และจากการที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน อุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก คือ อยู่ระหว่าง 17.9 – 39.1 องศาเซลเซียส
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป
ที่ตั้ง ตำบลเกาะศรีบอยา อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเหนือคลอง ห่างจากอำเภอเหนือคลองประมาณ 23 กิโลเมตร
เนื้อที่ ตำบลเกาะศรีบอยา มีพื้นที่ (พื้นดิน) ประมาณ 55.47 ตารางกิโลเมตร หรือ 34,665.69 ไร่
แหล่งน้ำ
ฝาย
บ่อน้ำตื้น
ประปาหมู่บ้าน
สระน้ำ
ลำห้วย
|
จำนวน 1 แห่ง
จำนวน 20 แห่ง
จำนวน 6 แห่ง
จำนวน 2 แห่ง
จำนวน 4 แห่ง
|
สภาพสังคม
ข้อมูลหมู่บ้านในตำบลเกาะศรีบอยา
ชุมชนเกาะศรีบอยา ประกอบไปด้วยชุมชนย่อยบนเกาะขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่
1. เกาะศรีบอยา ประกอบด้วยชุมชนย่อย 3 แห่ง คือ
* หมู่ 1 บ้านคลองเตาะ
* หมู่ 6 บ้านเกาะศรีบอยา
* หมู่ 7 บ้านหลังเกาะ
2. เกาะปู - เกาะจำ ประกอบด้วยชุมชนย่อย 3 แห่ง คือ
* หมู่ 2 บ้านเกาะปู
* หมู่ 3 บ้านเกาะจำ
* หมู่ 5 บ้านติงไหร
3. เกาะฮั่ง ประกอบด้วยชุมชนย่อย 1 แห่ง คือ
* หมู่ 4 บ้านเกาะฮั่ง
หมู่ที่ 1
บ้านคลองเตาะ
|
หมู่ที่ 2
บ้านเกาะปู
|
หมู่ที่ 3
บ้านเกาะจำ
|
หมู่ที่ 4
บ้านเกาะฮั่ง
|
หมู่ที่ 5
บ้านติงไหร
|
หมู่ที่ 6
บ้านเกาะศรีบอยา
|
หมู่ที่ 7
บ้านหลังเกาะ
|
|
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
พื้นที่ (ตร.กม.)
|
พื้นที่ (ไร่)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
1
|
บ้านคลองเตาะ
|
4.9261
|
3,101.31
|
8.95
|
2
|
บ้านเกาะปู
|
14.1041
|
8,815.06
|
25.43
|
3
|
บ้านเกาะจำ
|
4.2764
|
2,672.76
|
7.71
|
4
|
บ้านเกาะฮั่ง
|
15.4355
|
9,647.19
|
27.83
|
5
|
บ้านติงไหร
|
4.0711
|
2,544.44
|
7.34
|
6
|
บ้านเกาะศรีบอยา
|
6.4502
|
4,031.32
|
11.63
|
7
|
บ้านหลังเกาะ
|
6.1707
|
3,856.344
|
11.12
|
|
รวม
|
55.4695
|
34,668.52
|
100.00
|
จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน และเพศ และจำนวนครัวเรือน
ตำบลเกาะศรีบอยามีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,530 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 96 คน/ตร.กม. จำนวนประชากรทั้งหมด 5,056 คน แยกเป็น ชาย 2,630 คน หญิง 2,426 คน โดยแยกเป็นหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้
หมู่ที่/บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
หมู่ที่ 1 บ้านคลองเตาะ
|
160
|
309
|
282
|
591
|
หมู่ที่ 2 บ้านเกาะปู
|
330
|
658
|
614
|
1,272
|
หมู่ที่ 3 บ้านเกาะจำ
|
374
|
529
|
480
|
1,009
|
หมู่ที่ 4 บ้านเกาะฮั่ง
|
159
|
267
|
230
|
497
|
หมู่ที่ 5 บ้านติงไหร
|
279
|
444
|
419
|
863
|
หมู่ที่ 6 บ้านเกาะศรีบอยา
|
134
|
240
|
243
|
483
|
หมู่ที่ 7 บ้านหลังเกาะ
|
94
|
183
|
158
|
341
|
รวม
|
1,530
|
2,630
|
2,426
|
5,056
|
โรงเรียนระดับประถม 5 แห่ง
|
ที่อยู่
|
ครู
|
นักเรียน
|
ห้องเรียน
|
โรงเรียนบ้านคลองเตาะ
โรงเรียนบ้านเกาะปู
โรงเรียนบ้านเกาะฮั่ง
โรงเรียนบ้านติงไหร
โรงเรียนบ้านเกาะศรีบอยา
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง
โรงเรียนบ้านเกาะจำ
|
ม.1 บ้านคลองเตาะ
ม.2 บ้านเกาะปู
เกาะศรีบอยา
เกาะศรีบอยา
เกาะศรีบอยา
ม.2 บ้านเกาะจำ
|
จำนวน 4 คน
จำนวน 10 คน
จำนวน 5 คน
จำนวน 8 คน
จำนวน 5 คน
จำนวน 12 คน
|
จำนวน 80 คน
จำนวน 189 คน
จำนวน 89 คน
จำนวน 121 คน
จำนวน 94 คน
จำนวน 226 คน
|
จำนวน 8 ห้อง
จำนวน 8 ห้อง
จำนวน 8 ห้อง
จำนวน 8 ห้อง
จำนวน 8 ห้อง
จำนวน 11 ห้อง
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด จำนวน - แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
มัสยิด จำนวน 7 แห่ง
การศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
สาธารณสุข
สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
- สถานีอนามัยบ้านเกาะจำ ม.2 บ้านเกาะจำ
- สถานอนามัยเกาะศรีบอยา ตำบลเกาะศรีบอยา
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ป้อม อปพร. จำนวน 1 แห่ง
เศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชาชนในตำบลเกาะศรีบอยา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
- อาชีพเกษตรกรรม (ทำสวนยางพารา) ร้อยละ 46.49
- อาชีพทำการประมง ร้อยละ 41.43
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 6.37
- อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 5.71
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ธนาคารหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
บังกะโล จำนวน 25 แห่ง
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4036 เริ่มต้นจากอำเภอเหนือคลอง ผ่านตำบลเหนือคลอง ตำบลคลองเขม้า ตำบลคลองขนาน ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือบ้านแหลมกรวด จากนั้นก็ต่อเรือหางยาวเดินทางไปยังเกาะต่างๆในตำบลเกาะศรีบอยา ซึ่งเป็นเรือโดยสารระหว่างเกาะ
การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
การไฟฟ้า
เนื่องจากตำบลเกาะศรีบอยา มีพื้นที่อยู่ในทะเลจึงทำให้ไฟฟ้าไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกหมู่บ้าน แต่มีบางพื้นที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนโครงการขยายเขตไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาคจังหวัดกระบี่ อยู่ในช่วงศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณ
|